วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

การรักษาสุขภาพทางเพศ

การรักษาสุขภาพทางเพศ

เมื่อมีเพศสัมพันธ์
1.     ทำความสะอาดอวัยวะเพศก่อนมีเพศสัมพันธ์
2.     ควรให้ฝ่ายชายสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยังช่วยให้ช่องคลอดไม่หมักหมมจากน้ำอสุจิที่ตกค้างอยู่ ลดโอกาสการติดเชื้อโรคต่างๆ
การทำความสะอาดที่ถูกต้อง เมื่อหลังปัสสาวะควรใช้กระดาษชำระซับบริเวณอวัยวะเพศเบาๆ หรือหลังอุจจาระทุกครั้ง ควรใช้กระดาษชำระเช็ดจากบริเวณด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากอุจจาระ การเข้าห้องน้ำสาธารณะไม่ควรใช้สายยางฉีดน้ำทำความสะอาด ใช้เพียงกระดาษชำระซับ กลับถึงบ้านจึงค่อยล้างทำความสะอาดด้วยสบู่
3.     กรณีที่ใช้เจลหล่อลื่น หลังเสร็จกิจควรล้างเจลหล่อหลื่นออกให้หมด ด้วยน้ำสะอาด
หมั่นสังเกตอวัยวะเพศของตัวเอง
  เพศหญิง
หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้เชื้อโรคลุกลามได้
1.     ตกขาวมากผิดปกติ
2.     ตกขาวมีกลิ่นเหม็น สีเปลี่ยนไป
3.     คันที่อวัยวะเพศ
4.     ปัสสาวะปวดแสบ
5.     มีตุ่มใส/จุด/แผลที่อวัยวะเพศ
6.     รู้สึกเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์
7.     ปวดท้องน้อยมาก โดยไม่ใช่อา่การประจำเดือนตามปกติ ไม่ควรซื้อยากินหรือยาเหน็บเองเมื่อมีอาการผิดปกติ เพราะอาจรักษาไม่ตรงกับโรคที่เป็นอยู่และรักษาไม่หายขาด
  เพศชาย
หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้เชื้อโรคลุกลามได้
1.     มีน้ำหนองไหล
2.     มีอาการบวม
3.     รู้สึกคัน
4.     ปัสสาวะแสบขัด หรือปัสสาวะบ่อย
5.     น้ำปัสสาวะขุ่นหรือมีสีผิดปกติ
6.     มีเนื้องอก
7.     รู้สึกเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์
สุขภาวะอนามัยทางเพศ
คือการดูแลรักษาสุขอนามัยของอวัยวะเพศ ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งมีข้อแตกต่างกัน การทำความเข้าใจและเรียนรู้ เรื่องการดูแลตามสรีระทางเพศที่แตกต่างกันจึงมีความสำคัญมากที่จะทำให้อวัยวะเพศส่วนนี้สะอาดและปราศจากโรคติดต่อใดๆ ดังนั้นการรักษาอวัยวะเพศ จึงมีความสำคัญมาก เพราะบริเวณอวัยวะเพศมีขน ช่อง ร่องและหนังบางส่วน ปกคลุมอยู่ รวมทั้งยังอยู่ใกล้ช่องปัสสาวะและทวารหนัก ทำให้อาจเปรอะเปื้อนและติดเชื้อได้ง่าย
  การดูแลอวัยวะเพศหญิง
การทำความสะอาดอวัยวะเพศ
1.     ทำความสะอาดขณะอาบน้ำ โดยใช้น้ำธรรมดาและสบู่
2.     ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด โดยใช้น้ำหรือน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างเด็ดขาด เพราะทำให้สภาพแวดล้อมภายในช่องคลอดเปลี่ยนไป จนอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
3.     หลังทำความสะอาดแล้ว ควรซับด้วยผ้าฝ้ายและตากผ้าให้แห้งจะได้ไม่อับชื้น
4.     ขนอ่อนๆ ที่หัวเหน่าจะช่วยป้องกันกลิ่นของอวัยวะเำพศ ไม่ควรถอนทิ้ง โกน หรือย้อมสี แต่สามารถเล็มตัดแต่งให้สวยงามได้
5.     เมื่อใช้ห้องน้ำสาธารณะ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำฉีดทำความสะอาดหลังปัสสาวะ แต่ให้ใช้กระดาษชำระซับให้แห้ง
6.     การทำความสะอาดทวารหนัก ควรใช้กระดาษทิชชูเช็ดจากหน้าไปหลังเพื่อป้องกันการเปรอะเปื้อนที่อวัยวะเพศ
7.     ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองติดเชื้อ
  การดูแลอวัยวะเพศชาย
การทำความสะอาดอวัยวะเพศ
1.     ทุกครั้งที่อาบน้ำต้องปลิ้นหนังหุ้มปลายออกมาเพื่อทำความสะอาด ชำระคราบไคลที่หมักหมม อยู่ภายใต้หนังหุ้มปลายออกหรือที่เรียกว่า "ขี้เปียก" ซึ่งเป็นขี้ไคลที่เปียก เป็นสิ่งที่ก่อมะเร็งปากมดลูกในคู่นอนได้
2.     ปัสสาวะควรถ่ายจนหมด จะได้ไม่หมักหมม ก่อให้เกิดเชื้อแบคทีเรียได้
3.     หลังทำความสะอาดแล้ว ควรซับด้วยผ้าฝ้าย และตากผ้าให้แห้งจะได้ไม่อับชื้น
4.     ขนอ่อนๆ ที่หัวเหน่า ช่วยป้องกันกลิ่นอวัยวะเพศ ไม่ควรถอนทิ้ง โกนหรือย้อมสี แต่สามารถเล็มตัดแต่งให้สวยงามได้
5.     ไม่ใช้กางเกงใน กางเกง ผ้าเช็ดตัว ผ้าขาวม้า ปะปนกับคนอื่น เพราะอาจทำให้เราติดเชื้อได้
 การปฏิบัติตนในการดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกต้อง ดัง ต่อไปนี้


 1.     การรักษาความสะอาด อวัยวะเพศอยู่ในที่อับชื้น จึงทำให้เกิดกลิ่นได้ง่าย และอาจมี ระดูขาวออกมาในบางครั้ง โดยเฉพาะในระหว่างการมีประจำเดือน ความอับชื้น และกลิ่น ยิ่งเกิดได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น การรักษาความสะอาด จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง การ รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ ในระหว่างการมีประจำเดือน ก็ทำเช่นเดียวกับเวลาปกติ คือล้างจากอวัยวะเพศไปทางทวารหนัก เพราะอาจนำสิ่งสกปรกจากทวารหนัก เข้าสู่ช่องคลอดได้ ห้ามสวนล้างช่องคลอด และทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าอนามัย ก็ต้องทำความ สะอาดอวัยวะเพศ และซับให้แห้งด้วย นอกจากนั้นควรทำความสะอาดบริเวณโคนขาด้านใน และขาหนีบ และซับให้แห้ง อาจใช้แป้ง ฝุ่นที่ใช้สำหรับเด็ก ทาบริเวณต้นขาด้านใน เพื่อป้องกันความอับชื้นและการเสียดสีกันของผิวหนัง บริเวณดังกล่าวซึ่งจะทำให้เกิดผื่น คัน หรือรอยผื่นแดงที่เกิดจากการเสียดสีกัน

    การอาบน้ำในระหว่างการมีประจำเดือน ควรควรอาบน้ำจากฝักบัวหรือใช้ขันตักอาบ ไม่ควรลงอาบน้ำในแม่น้ำลำคลอง หรือไปว่าย น้ำในสระ เพราะเชื้อโรคจากแหล่งน้ำสาธารณะเหล่านั้นอาจเข้าสู่ช่องคลอด และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
 การใช้กางเกงใน ควรที่เลือกใส่กางเกงในที่เป็นผ้าดูดซับเหงื่อได้ดี และการระเหยได้ง่าย เพื่อป้อง กันไม่ให้บริเวณอวัยวะเพศเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผื่นคันได้ง่าย
การรับประทานอาหาร ควรเป็นไปตามปกติและควรดื่มน้ำสะอาดมากๆ ไม่มีอาหารชนิดใดที่จัดว่า เป็นของแสลง สำหรับการมีประจำเดือน
  

    การออกกำลังกายและการพักผ่อน บางคนอาจมีความเข้าใจผิดว่าในระหว่างการมีประจำเดือน ห้าม ออกกำลังกาย ควรนอนผักผ่อนอย่างเดียว ตามความเป็นจริง แล้วช่วงการมีประจำเดือน เราสามารถกระทำกิจ กรรมทุกอย่างได้ตามปกติ ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาได้ตามสมควร แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนัก หรือหักโหม เกินไป และควรงดการเล่นกีฬาบางชนิด เช่น ว่ายน้ำ ส่วนการพักผ่อน ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และควรหางาน อดิเรกทำ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เพื่อไม่ให้มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการมีประจำเดือน โดยเฉพาะในวัยรุ่น ที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน มักจะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง จะช่วย ให้ความวิตกกังวลหมดไป การสังเกตอาการผิดปกติในระหว่างการมีประจำเดือน ดังกล่าวแล้วว่าการมีประจำ เดือนเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิงทุกคน แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างการมีประจำเดือนั้น อาจมีความผิดปกติบาง อย่างเกิดขึ้นได้ เช่นอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรมีประจำเดือนมากผิดปกติ ทั้งระยะเวลาและปริมาณของ เลือดประจำเดือนที่ออกมาหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง มีประจำเดือนกะปริดกระปรอย หรือช่วงการมีประจำเดือนห่าง มาก เช่น 2-3 เดือนจะมีประจำเดือนสักครั้งหนึ่ง เป็นต้น ถ้าพบอาการผิดปกติเหล่านี้ควรปรึกษาพ่อเเม่ ผู้ปก ครอง หรือครูเพื่อจะนำไปพบแพทย์ และได้รับการตรวจรักษาที่ถูกต้อง
 สิ่งที่จะช่วยให้การสังเกตอาการในระหว่างการมีประจำเดือน  เป็นไปอย่างถูกต้อง และได้ข้อมูลชัดเจน ก็คือ การจดบันทึก ของตัวเราเองลงในสมุดปฏิทินเล็กๆ ประจำตัว โดยจดจำวันแรกถึงวันสุดท้ายที่มีประจำเดือน และอาจบันทึกอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ระหว่างการมีประจำเดือนไว้ ด้วยข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์มากสำหรับตนเอง จะช่วยให้รู้ว่าสุขภาพของระบบสืบพันธุ์ดีหรือไม่ ผิด ปกติหรือไม่ ในรายที่พบในความผิดปกติข้อมูลนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติได้้อย่างถูกต้องด้วย
 การปรับตัวทางเพศทางด้วยร่างกายในเพศชาย   ในชายก็เช่นเดียวกับหญิง เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีสัญญาณที่บอกถึงความ สมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์์ ซึ่งนอกจากจะเห็นความเจริญเติบโตจากลักษณะภายนอกแล้ว สัญญาณของเพศชายก็คือ มีการหลั่งน้ำ อสุจิ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติิ และสิ่งนี้มักจะเกิดขึ้นร่วมกับความรู้สึกทางด้านจิตใจ ที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของวัยรุ่น ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าทางตา ทางกาย สัมผัสหรือทางการได้ยินเองโดยไม่ได้ตั้งใจ
การเกิดสิว สิวนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของวัยรุ่นทั้งชาย และหญิง เพราะวัยรุ่นเป็นที่ จับใจของเพศตรงข้ามและแม้แต่ เพื่อนเพศเดียวกัน ความสวยงามของร่างกาย โดยเฉพาะ ใบ หน้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับวัยรุ่น เมื่อเกิดสิวจึงก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล อย่างมาก เพราะว่าจะทำให้ความสวยงามของใบหน้าของตนนั้นลดลงไป สิวเป็นเรื่องธรรม
      ชาติของวัยรุ่น ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน หรือการใช้เครื่องสำอางที่ไม่ เหมาะสม หรือเกิดจากความสกปรกของผิวหนังบริเวณใบหน้า หรือเกิดจากความเครียด และความวิตกกังวลก็ได้ ในเด็กหญิงวัยรุ่นจะพบว่าในช่วงการมีประจำเดือน มีสิวเกิดขึ้น มากกว่าปกติ ทั้งนี้เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน และอาจมีความเครียด และ ความวิตกกังวลร่วมด้วย


วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ภาพเมฆสึนามิ โผล่ชายฝั่งฟลอริด้า

MThai News : สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายเจอาร์ ฮอตต์ ได้บันทึกภาพปรากฏการณ์ธรรมชาติ เมฆสึนามิ ได้ ระหว่างที่เขาขับเฮลิคอปเตอร์บินวนเหนืออ่าว ในชายฝั่งทะเลรัฐฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา และได้นำคลิปดังกล่าวโพสในเฟสบุ๊กส่วนตัวทั้งนี้ชาวเมืองปานามาซิตี้ ต่างพากันตกตะลึงกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าหาดูได้ยามาก โดยกลุ่มเมฆก่อตัวไม่สูงจากระดับน้ำทะเล แล้วพัดเข้าชายฝั่งเมืองปานามาซิตี้ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัลื่นสึนามิ


อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า เมฆสึนามิ ดังกล่าวนั้น เกิดจากอากาศอุ่นชื้นก่อตัวในสภาวะที่เหมาะสมก่อนเคลื่อนเข้าหาชายฝั่ง และจะหายไปเมื่อเข้าสู่บริเวณที่มีอากาศเย็นกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชาวมูเซอ

   ชาวมูเซอ  (Lahu people) เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งในประเทศไทย แบ่งย่อยได้เป็น 23 กลุ่ม เช่น ชาวมูเซอดำ ชาวมูเซอแดง ชาวมูเซอดำเบเล ชาวมูเซอเหลืองบาเกียว ชาวมูเซอลาบา ชาวมูเซอเหลืองบ้านลาน และชาวมูเซอกุเลา เป็นต้น ภาษาที่ใช้พูดคือภาษามูเซอที่แตกต่างไปในแต่ละเผ่าย่อย ชาวมูเซอเรียกตัวเองว่าล่าหู่ หมายถึง ชนเผ่าที่ได้กินเนื้อเสือปิ้ง ซึ่งเป็นการบอกถึงความกล้าหาญของชาวมูเซอที่ล่าเสือมากินเป็นอาหารได้ส่วนคำว่ามูเซอนั้น ในภาษาไทใหญ่ มูหมายถึงนิดหน่อย ส่วนเซอ หมายถึงสนุกสนาน โดยในประเทศไทยชาวมูเซอส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก[2]
วิถีชีวิตของชาวมูเซอ
  • ชาวมูเซอทำเกษตรกรรมแบบไร่เลื่อนลอย โดยปกติแล้วจะยาวประมาณ 1,000 เมตร หมู่บ้านจะก่อสร้างไว้บนที่สูงตามแนวเขา และมีการผันน้ำจากแหล่งน้ำมายังหมู่บ้านโดยใช้ไม้ไผ่ การทำไร่เลื่อนลอยคือการบุกโค่นและเผาป่าบนภูเขา (ถางป่าแล้วเผา) และเมื่อดินในบริเวณนั้นเริ่มเสื่อมโทรมหลังจากผ่านไปสองสามปี ชาวเขาก็จะทิ้งที่ดินแปลงนี้ไป แล้วไปหาที่อื่นแทน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าวิธีนี้เป็นการทำลายป่าและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก แถมยังส่งผลกระทบต่อความบริสุทธิ์ของอากาศและน้ำบนภูเขาอีกด้วย
  • พืชที่ปลูกเป็นประจำ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่ว ข้าวฟ่าง มันเทศ พริกไทย และแตง ส่วนสัตว์ที่เลี้ยงไว้ ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ วัว และม้า
  • น.ส.ศศิธร  บัวสอน  เลขที่ 27 ม.5/8

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เพราะปัญหาโลกร้อน จึงทำให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศต่างๆช่วยกันคิดโครงการเพื่อแก้ไขลดภาวะเรือนกระจก1 ในโครงการที่ว่านี้คือรูปแบบเมืองหรือชุมชนยุคใหม่ซึ่งเรียกว่า"ชีวิตที่ไม่มีรถยนต์ - Life Without Cars"เพราะตัวการสำคัญอันนำไปสู่ภาวะเรือนกระจกที่หนักหนามากขึ้นทุกวัน ก็คือแก๊สจากท่อไอเสียของรถยนต์2 ทศวรรษมาแล้วที่นักวิชาการด้านผังเมืองและสภาพแวดล้อมพยายามสร้างเมืองและย่านที่อยู่อาศัยให้มีอากาศปลอดโปร่ง ปราศจากมลภาวะแต่ไม่มีที่ใดจะประสบความสำเร็จยิ่งกว่า โวบัน (Vauban)เมืองเล็กๆชายเขตแดนไฟรบูร์ก (Freiburg) ประเทศเยอรมันนี ติดชายแดนสวิตเซอร์แลนด์เนื่องจากเคยเป็นที่ตั้งฐานทัพ เมืองนี้จึงมีแต่ถนนแคบๆ ผ่านไปตามที่ตั้งค่ายทหารกับอาคารเก่าๆที่เป็นกองอำนวยการและโรงเรือนต่างๆของทหารเมือได้เอกราชคืนมา ทางการเยอรมันจึงถือโอกาสรื้อทิ้งและสร้างเมืองขึ้นใหม่โดยวางแผนสร้างให้เป็นย่านที่อยู่อาศัยยุคใหม่และปราศจากมลภาวะมากที่สุดเป็นผังเมืองที่เรียกกันว่า"Smart Planning"


ภาพเมืองตอนกลางคืน

วัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้มีภาพเมืองตอนกลางคืนมาให้ดูกัน

ใครชอบภาพไหนก็มาแสดงความคิดเห็นได้นะคะ



Madrid Spain

Monaco Monaco

Paris France

London England

Newyork USA

Miami USA

Rio De Janeiro Brazil

Bankok Thailand

Yokohama Japan

Beijing China

Shanghai China

Sydney Australia

Cairo Egypt

Athen Greece

อาข่า





อาข่า เป็น ชนเผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากไหนไม่ทราบแน่ชัด แต่มีชาวอาข่าอาศัยกระจัดกระจายอยู่ ในภาคเหนือของประเทศไทย, เชียงตุง, รัฐฉานของประเทศพม่า และทางแคว้นสิบสองปันนาทางตอนใต้ของจีน ภาษาอาข่าจัดอยู่ในกลุ่มภาษาจีน แต่ก็ไม่ใช่ภาษาจีนเสียทีเดียว อาข่าโดยส่วนมากจึงพูดได้หลายภาษาเพราะต้องอาศัยปะปนกับหลายชนเผ่าอาข่าแบ่งผู้ชายออกเป็น 2ช่วง คือช่วงแรกตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 13 ปี เรียกว่า อ่าลี หญ่า แปลว่าเด็กชายและหลังจาก 13 ปีขึ้นไปเรียกว่า ห่า เจ๊ หญ่า โย แปลว่าเป็นผู้ชายเต็มตัว ในส่วนของผู้หญิงอ่าข่าได้แบ่งออกเป็น 4 ช่วงของชีวิต ช่วงแรก เรียกว่า อ่าบู๊หญ่าแปลว่า เด็กน้อย ซึ่งมีอายุตั้งแต่เกิดจนถึง 13 ปี พออายุตั้งแต่ 13 ปีถึง 18 ปี เรียกว่า หมี่ เตอ เตอ จ๊อ แปลว่า เข้าสู่วัยสาว และเมื่อเข้าสู่อายุตั้งแต่ 18 ปีถึง 25 ปี เรียกว่า จ๊อมา หมี่ โล้ แปลว่าหญิงสาวที่พร้อมจะออกเรือนแล้ว และหากหญิงที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป อ่าข่าเรียกว่า หมี่ ดะ ดะ โอ้ว หรือ หมี่ ดะ ช้อ หม่อ แปลว่าสาวแก่ สัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงช่วงอายุดูได้จากการแต่งกาย เช่น หมวก เป็นต้น

ความเชื่อแบบผิด

อาข่าเรียกสาวทียังไม่แต่งงานว่า "หมี่ดะ" หรือที่คนไทยโดยทั่วไปเข้าใจว่า "มิดะ" แท้จริงแล้ว คำๆ นี้เป็นคำเรียกสาวโสดเฉยๆ แต่นักประพันธ์เพลงนำไปแต่งเรื่องราวเป็นเพลง ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดไปด้วย คำเหล่านี้คือคำที่ชาวอ่าข่าใช้เรียกกับผู้หญิง เมื่อชาวอ่าข่าเจอผู้หญิงสาวก็มักจะเรียกว่า หมี่ดะ ตลอด ถึงแม้นว่าจะเรียกแบบนี้ก็ไม่ผิดเพราะมีความหมายถึงหญิงสาวที่ยังไม่ได้ แต่งงานเหมือนกัน

ความเชื่อ

ความเชื่อในภาษาอาข่าเรียกว่า "นือจอง" อาข่าเป็นชนเผ่าที่มีความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณ ภูตผี ปีศาจ ไสยศาสตร์ สิ่งเร้นลับ พิธีกรรมคำสอนที่ได้รับการปลูกฝังมาจากบรรพบุรุษ และสืบทอดปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผี "แหนะ" ตามความเชื่อของอาข่า

สภาพปัจจุบัน

ปัจจุบันอาข่ายังมีการใช้หลักความเชื่อในการดำรงชีวิตอยู่ แต่อาข่าบางส่วนก็หันไปนับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม เพราะการนับถือดั้งเดิมจะต้องเคร่งในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งต้องใช้สัตว์ต่างๆ ในการทำพิธีเซ่นไหว้เป็นจำนวนมาก เป็นเหตุทำให้อาข่าจำเป็นต้องทิ้งความเชื่อดั้งเดิม แล้วหันไปนับถือศาสนาอื่น

โดย น.ส.ปราลี จาดเนือง เลขที่19 ม.5/8

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชาติพันธุ์ของพม่า

กะเหรี่ยง

กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เดิมอาศัยอยู่แถบบริเวณต้นแม่น้ำสาละวินของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและไทย มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

ชาวกะเหรี่ยงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายอย่าง นอกเหนือจากภาษาพูดแล้ว ยังมีการแต่งกาย ศิลปะการแสดง และประเพณีต่างๆ ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงในประเทศพม่าประมาณ 7 ล้านคน และในไทยประมาณ 4 แสนคน

อนึ่ง คำว่า "กะเหรี่ยง" นั้น บางท่านถือว่าเป็นคำไม่เหาะสม เป็นการเรียกด้วยความดูถูก แต่ชาวกะเหรี่ยงในบางชุมชน ก็แนะนำตัวเองว่า กะเหรี่ยง มิได้เห็นเป็นคำไม่เหมาะสมหรือดูถูก ทั้งนี้ความรู้สึกดังกล่าวยังขึ้นอยู่กับทรรศนะของผู้เรียกด้วย

กลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยงคนล้านนาและคนทางภาคตะวันตกมักเรียกกะเหรี่ยงว่า ยางพม่าเรียกพวกนี้ว่า กะยิ่นฝรั่งเรียกว่า กะเรน” (บางที่เขียนว่า กะเร็น) แต่พม่าออกเสียง ร เป็น ย แต่คำว่า กะเหรี่ยง กะเรน หรือกะยิ่น ก็เป็นคำที่พวกเขาไม่ชอบนัก สังเกตได้จากเมื่อครั้งพม่าได้รับเอกราช พวกเขาได้ตั้งชื่อรัฐของตนเองว่า กะยาแปลว่า คน” (จิตร ภูมิศักดิ์, 2544: 279-280) อย่างไรก็ตาม เรื่องของชื่อเรียก กะเหรี่ยงนี้ยังเป็นปัญหาไม่เป็นที่ยุติ หลายคนในปัจจุบันเข้าใจว่าชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ไม่สมควรจะเรียกว่า กะเหรี่ยงอีกต่อไป เพราะมีความหมายไปเชิงดูถูก โดยสมควรให้เรียกว่า ปกาเกอะญอแทน แต่หากศึกษากันไปแล้วกลับพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงหลายกลุ่มที่เรียกตนเองว่า กะเหรี่ยงและกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดิมนักมานุษยวิทยาเห็นว่าควรจัดอยู่ในกลุ่มของกะเหรี่ยงกลับไม่ได้เรียกตัวเองว่ากะเหรี่ยงแต่อย่างใด กลับเรียกเป็นชื่ออื่น กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่ากะเหรี่ยงมีหลายกลุ่มแตกต่างกันไป กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ๆ มี ปกาเกอะญอ (สกอว์) โพล่ง (โปว์) ตองสู้ (ปะโอ) และบะแก (บะเว)

กะเหรี่ยงตอนเด็ก

กะเหรี่ยงในประเทศไทย

ในประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยง 1,993 หมู่บ้าน 69,353 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้นประมาณ 352,295 คน คิดเป็นร้อยละ 46.80 ของจำนวนประชากรชาวเขาในประเทศไทย อาศัยอยู่ใน 15 จังหวัด ของภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, เชียงราย, เชียงใหม่, ตาก, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ราชบุรี, ลำปาง, ลำพูน, สุโขทัย, สุพรรณบุรี และอุทัยธานี

กะเหรี่ยงมีด้วยกันหลายกลุ่มย่อย และมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ทั้งยังมีประเพณี ความเชื่อ ความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันด้วย กะเหรี่ยงในประเทศไทยมี มี 4 กลุ่มย่อยคือ

  • สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด
  • โป เรียกตัวเองว่า โพล่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน
  • ปะโอ หรือ ตองสู อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • บะเว หรือ คะยา อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน

....1. ปง่า-เก่อ-หญอ (หญอ เสียงนาสิก ไม่ใช่ ญอ) ต้องออกเสียงแบบนี้ถึงจะถูกต้องตามสัทอักษร แปลว่า คน ส่วนคำว่า กระเหรี่ยง ที่ชาวไทยนิยมเรียกชาติพันธุ์นี้นั้น เป็นคำที่ ปง่า-เก่อ-หญอ ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร และไม่มีในภาษากระเหรี่ยง และไม่ทราบชาวไทยนำคำนี้มาจากไหน จึงเป็นเหตุ ทำให้ไม่ชอบให้ผู้อื่นเรียกชาติพันธ์นี้ว่า กระเหรี่ยง ซึ่งไม่ได้เกิดจากการดูถูกอะไร ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ที่ยอมและบางครั้งก็เรียกตนเองว่า กระเหรี่ยง ก็เนื่องจาก น้อยคนที่จะรู้จักและเรียกชาติพันธุ์นี้ว่า ปง่า-เก่อ-หญอ จึงใช้คำนี้ในลักษณะภาวะจำยอม แต่ไม่เคยเรียกชาติพันธุ์ตนเองว่า กระเหรี่ยง ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันเช่น ดังนั้นถ้าจะกำหนดให้เรียกชาติพันธุ์นี้ว่า ปง่า-ก่า-หญอ จะเป็นการให้เกียรติกับชาติพันธุ์นี้มากกว่า

ถิ่นที่อยุ่

แม้ว่าชาวกะเหรี่ยงจะได้ชื่อว่าเป็นชาวเขา แต่ก็ไม่ได้อาศัยอยู่บนที่สูงเสียทั้งหมด บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ในหมู่บ้านบางแห่งมีทั้งกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโป แต่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ชาวกะเหรี่ยงนิยมตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่นิยมย้ายถิ่นบ่อยๆ และมีภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรดินและแหล่งน้ำเป็นอย่างดี และเป็นที่น่าสังเกตว่า ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำหรือต้นน้ำลำธารบ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยงนิยมสร้างเป็นบ้านยกพื้น มีชานบ้าน หรือไม่ก็ใช้เสาสูง แม้ว่าอยู่บนที่สูงก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากชาวเขาเผ่าอื่นๆ ที่นิยมสร้างบ้านชั้นเดียว พื้นติดดิน เช่น ชาวม้ง หรือชาวเมี่ยน เป็นต้น

ระบบครอบครัว

ระบบครอบครัวของกะเหรี่ยงเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว และไม่มีการอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานเป็นอันขาดการหย่าร้างมีน้อยมาก ขณะที่การแต่งงานใหม่ก็ไม่ค่อยปรากฏ ส่วนการเลือกคู่ครองนั้น ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เลือกชายก่อน และบางครั้งฝ่ายหญิงก็ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการแต่งงานสังคมกะเหรี่ยงเป็นครอบครัวเดี่ยว เมื่อลูกแต่งงานก็จะแยกครอบครัวไปปลูกบ้านใหม่ ถ้าแต่งงานแล้ว ชายจะต้องมาอยู่กับบ้านพ่อแม่ภรรยาเป็นเวลา 1 ฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นจึงปลูกบ้านใกล้กับพ่อแม่ฝ่ายภรรยาถ้ามีลูกสาวคนเล็กจะต้องอยู่ดูแลพ่อกับแม่

ความเชื่อ

เดิมนั้นชาวกะเหรี่ยงนับถือผีมีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ในภายหลังชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญ

ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าคนเรามีขวัญอยู่ทั้งหมด 37 ขวัญ เมื่อคนตายไป ขวัญจะละทิ้งหรือหายไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าขวัญจะหนีไปท่องเที่ยว และอาจถูกผีทำร้ายหรือกักขังไว้ ทำให้เจ้าของขวัญล้มป่วย การรักษาหรือช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยก็คือ ต้องล่อและเรียกขวัญให้กลับคืนมา

ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนมากจะช่วยกันออก แต่ส่วนใหญผู้ชายจะเป็นฝ่ายออกมากกว่า ส่วนความนับถือบรรพบุรุษของเรานับถือศาสนาพุทธมายาวนานไม่ใช่นับถือผีแต่คนกะแหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่รู้ข้อมูลในส่วนนี้โดยเฉพาะกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยฉันมีโอกาสไปพบปะคนกะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และอุทัยธานีส่วนใหญ่ไม่รู้ความเป็นมาของบรรพบุรุษบางคนไม่รู้แม้ภาษาเขียนของตนเอง

หมายเหตุ...นับถือ ผี เป็นความเชื่อดั้งเดิมอยู่คู่กับชาติพันธ์นี้มานานแล้ว ซึ่งเป็นความเชื่อในเหล่าบรรพบุรุษ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา เนื่องจากชีวิตของ ปง่า-เก่อ-หญอ อยู่กับป่าเขา ผูกพันกับธรรมชาติมาเนิ่นนาน จึงหล่อหล่อมความเชื่อกับธรรมชาติเข้าด้วยกัน ในการทำกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการเซ่น เจ้าที่เจ้าทาง และบอกกล่าวบรรพชน ให้ท่านได้มาอุดหนุนค้ำจูน ช่วยให้กิจการงานนั้นๆ เจริญก้าวหน้า ทำกสิกรรมได้ผลผลิตดี ขอให้ท่านดลบันดาลให้อยู่เย็นเป็นสุข ปกป้องคุ้มครองดูแล และยังเป็นการขอขมาต่อท่านเหล่านั้นด้วย ซึ่งเป็นความเชื่อและเป็นประเพณีที่ดีงาม เป็นการสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ และให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขในครอบครัว เป็นความเชื่อที่ชาติพันธ์นี้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ความเชื่อในลักษณะนี้มีอยู่ในทุกชนชาติ

การเลี้ยงชีพ

ชาวกะเหรี่ยงใช้ชีวิตในชนบท มีชุมชนขนาดเล็ก และทำมาหากินในลักษณะเพื่อการยังชีพ อาชีพส่วนใหญ่จึงเป็นการเกษตรทั้งปลูกพืช ปลูกข้าวไร่ และเลี้ยงสัตว์

เดิมชาวกะเหรี่ยงปลูกฝิ่นเช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ แต่ปัจจุบันได้หันมาปลูกพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพืชเมืองหนาว โดยได้รับการสนับสนุนและให้ความรู้จากโครงการพัฒนาชนบทจากหลายๆ หน่วยงาน เช่น โครงการหลวง ทำให้ความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนมีความผาสุก

กะเหรี่ยงได้ชื่อว่ารู้จักการใช้พื้นที่ทำกินแบบ "ไร่หมุนเวียน" นั่นคือ ทำครั้งหนึ่ง แล้วพักไว้ 3-5 ปี จึงกลับไปทำใหม่ วนเวียนไปโดยตลอด เพื่อป้องกันดินเสื่อมคุณภาพ มิได้ทำไร่เลื่อนลอยอันเป็นการตัดไม้ทำลายป่าอย่างที่เคยเข้าใจกัน

กะเหรี่ยงยังนิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ โดยเฉพาะสุกรและไก่และสุกร ที่เลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้าน หรือใกล้บ้าน เพื่อใช้ในพิธีกรรม และบางชุมชนยังนิยมเลี้ยงช้าง ในอดีตเคยมีการใช้ช้างเพื่อทำนา และชักลากไม้ แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก และใช้เพียงเพื่อบริการนักท่องเที่ยว มากกว่าการใช้งานแบบอื่น