วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชาติพันธุ์ของพม่า

ไทยสยาม
ชาวไทใหญ่ทั้งหมดสามมารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้ (ส่วนนี้น่าจะผิดนะ คนลื้อ-สิบสองพันนา บอกว่าตนเป็นชาวลื้อ, คนเขิน-เชียงตุง ก็บอกว่าตนเป็นชาวเขิน/ขึน ไม่ใช่คนไทใหญ่ แต่ถ้าจะอธิบายถึงชาติพันธ์ไท(ย)ที่อยู่ในเขตประเทศพม่าและจีน หรือพื้นที่ที่ชาวไทใหญ่อยู่อาศัย
  1. ชาวไทใหญ่ หรือไทหลวง(ไตโหลง)
  2. ชาวไทลื้อ มีถิ่นฐานอยู่ในแคว้นสิบสองปันนาของประเทศจีน และทางตะวันออกของรัฐฉาน
  3. ชาวไทเขิน(ไตขึน) เป็นประชากรส่วนใหญ่ของเมืองเชียงตุง
  4. ชาวไทเหนือ(ไตเหลอ) อาศัยอยู่ในแค้วนใต้คง(เต้อหง) ของประเทศจีน



อิทธิพลของพม่า
ในประวัติศาสตร์ไทใหญ่เต็มไปด้วยเรื่องราวสงคราม และประวัติศาสตร์ระยะใกล้ก็ถูกพม่ากดไว้ จนการเรียนประวัติศาสตร์ของชาวไทใหญ่กลายเป็นวิชาต้องห้ามการเรียนประวัติศาสตร์ของชาวไทใหญ่เป็นเรื่องต้องห้ามตั้งแต่สมัยอังกฤษปกครอง โดยไม่ยอมให้วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาบังคับ เมื่อพม่ากลับมามีอำนาจเหนือดินแดนรัฐฉานจึงสืบทอดเรื่องนี้ต่อไป ชาวไทใหญ่ต้องเรียนภาษาพม่า เรียนทุกวิชาเป็นภาษาพม่า แม้ผู้ที่ไม่ได้โรงเรียน เข้าวัด แต่ระเบียบพิธี และพิธีกรรมต่างๆ เป็นแบบพม่า และใช้ภาษาพม่าทั้งหมด อิทธิพลทางวัฒนธรรมของพม่าในไทใหญ่จึงมีมาก ซึ่งเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ด้วย โดยอิทธิพลทางวัฒนธรรมของพม่ายังเป็นสิ่งสืบเนื่องจากทางการเมืองอีกด้วย กล่าวคือเมื่อพม่าเป็นใหญ่ขึ้นมาก็จะเกณฑ์ให้เจ้าฟ้าไทใหญ่ส่งลูกสาวและลูกชายไปเมืองหลวงพม่า เจ้าหญิงเจ้าชายเหล่านี้จึงได้รับวัฒนธรรมพม่ามาอย่างไม่รู้ตัว และนำกลับมาเผยแพร่แก่ประชาชนไทใหญ่ในรูปแบบของภาษา ดนตรี นาฏศิลป์ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เช่น เกิดความนิยมว่า วรรณคดีที่ไพเราะซาบซึ้งควรมีคำพม่าผูกผสมผสานกับคำไท ความเป็นพม่าจึงครอบกรอบสังคมไทใหญ่


ภาษา
แม้ภาษาไทใหญ่รัฐฉานที่อนุญาตให้สอนในอดีตนั้น ภาษาไทใหญ่เป็นเพียงวิชาเลือก มีการเรียนแต่ไม่มีการสอบ ถึงมีการสอบก็ไม่มีการเอาคะแนนไปสะสมแต่ว่าไทใหญ่ก็จะเดือดร้อนมาก เพราะใช้ภาษาของตนเองไม่ได้เต็มที่ การเรียนหนังสือก็เรียนภาษาพม่าซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งซึ่งไม่คล้ายคลึงกันมาก การเรียนรู้ให้ดีทั้งสองภาษาจึงเป็นไปได้ยาก และเพราะเหตุที่ชาวไทใหญ่ละเลยภาษาของตนเองมานานนี้เอง การดำรงความเป็นปึกแผ่นในชาติไทใหญ่จึงเป็นไปได้ยากเจ้าขุนสาม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมรัฐฉานในอดีต เคยออกสำรวจคนไทในพม่า พบว่ามีคนไทใหญ่พูดภาษาไทใหญ่มากมายหลายแห่ง แต่ไม่ได้จำนวนที่แน่นอน เพราะคนไทเหล่านั้นจะเรียกตนเองว่าเป็นพม่า พูดภาษาพม่า แต่งกายเป็นพม่า แต่งตัวเป็นพม่า จนกว่าจะไปถึงบ้าน จึงสามารถรู้ได้ว่าพวกเขารักษาภาษา และวัฒนธรรมไทใหญ่ไว้ได้แค่ไหน

นางสาว จิรนันทฺ  คำหล้า เลขที่6 ม.5/8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น