วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อาข่า





อาข่า เป็น ชนเผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากไหนไม่ทราบแน่ชัด แต่มีชาวอาข่าอาศัยกระจัดกระจายอยู่ ในภาคเหนือของประเทศไทย, เชียงตุง, รัฐฉานของประเทศพม่า และทางแคว้นสิบสองปันนาทางตอนใต้ของจีน ภาษาอาข่าจัดอยู่ในกลุ่มภาษาจีน แต่ก็ไม่ใช่ภาษาจีนเสียทีเดียว อาข่าโดยส่วนมากจึงพูดได้หลายภาษาเพราะต้องอาศัยปะปนกับหลายชนเผ่าอาข่าแบ่งผู้ชายออกเป็น 2ช่วง คือช่วงแรกตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 13 ปี เรียกว่า อ่าลี หญ่า แปลว่าเด็กชายและหลังจาก 13 ปีขึ้นไปเรียกว่า ห่า เจ๊ หญ่า โย แปลว่าเป็นผู้ชายเต็มตัว ในส่วนของผู้หญิงอ่าข่าได้แบ่งออกเป็น 4 ช่วงของชีวิต ช่วงแรก เรียกว่า อ่าบู๊หญ่าแปลว่า เด็กน้อย ซึ่งมีอายุตั้งแต่เกิดจนถึง 13 ปี พออายุตั้งแต่ 13 ปีถึง 18 ปี เรียกว่า หมี่ เตอ เตอ จ๊อ แปลว่า เข้าสู่วัยสาว และเมื่อเข้าสู่อายุตั้งแต่ 18 ปีถึง 25 ปี เรียกว่า จ๊อมา หมี่ โล้ แปลว่าหญิงสาวที่พร้อมจะออกเรือนแล้ว และหากหญิงที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป อ่าข่าเรียกว่า หมี่ ดะ ดะ โอ้ว หรือ หมี่ ดะ ช้อ หม่อ แปลว่าสาวแก่ สัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงช่วงอายุดูได้จากการแต่งกาย เช่น หมวก เป็นต้น

ความเชื่อแบบผิด

อาข่าเรียกสาวทียังไม่แต่งงานว่า "หมี่ดะ" หรือที่คนไทยโดยทั่วไปเข้าใจว่า "มิดะ" แท้จริงแล้ว คำๆ นี้เป็นคำเรียกสาวโสดเฉยๆ แต่นักประพันธ์เพลงนำไปแต่งเรื่องราวเป็นเพลง ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดไปด้วย คำเหล่านี้คือคำที่ชาวอ่าข่าใช้เรียกกับผู้หญิง เมื่อชาวอ่าข่าเจอผู้หญิงสาวก็มักจะเรียกว่า หมี่ดะ ตลอด ถึงแม้นว่าจะเรียกแบบนี้ก็ไม่ผิดเพราะมีความหมายถึงหญิงสาวที่ยังไม่ได้ แต่งงานเหมือนกัน

ความเชื่อ

ความเชื่อในภาษาอาข่าเรียกว่า "นือจอง" อาข่าเป็นชนเผ่าที่มีความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณ ภูตผี ปีศาจ ไสยศาสตร์ สิ่งเร้นลับ พิธีกรรมคำสอนที่ได้รับการปลูกฝังมาจากบรรพบุรุษ และสืบทอดปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผี "แหนะ" ตามความเชื่อของอาข่า

สภาพปัจจุบัน

ปัจจุบันอาข่ายังมีการใช้หลักความเชื่อในการดำรงชีวิตอยู่ แต่อาข่าบางส่วนก็หันไปนับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม เพราะการนับถือดั้งเดิมจะต้องเคร่งในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งต้องใช้สัตว์ต่างๆ ในการทำพิธีเซ่นไหว้เป็นจำนวนมาก เป็นเหตุทำให้อาข่าจำเป็นต้องทิ้งความเชื่อดั้งเดิม แล้วหันไปนับถือศาสนาอื่น

โดย น.ส.ปราลี จาดเนือง เลขที่19 ม.5/8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น