วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้อควรรู้เมื่อเกิดแผ่นดินไหว

ช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ เรามักจะได้ยินข่าวการเกิดแผ่นดินไหวในแถบประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้งขึ้น ทำให้คนไทยเริ่มตื่นตัวกับเรื่องแผ่นดินไหวมากขึ้น และโดยเฉพาะในรอบประเทศไทยเองก็มีแนวรอยเลื่อนที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ รวม 3 จุด ทั้งที่รอยเลื่อนสะแกง พาดผ่านตอนกลางประเทศพม่า รอยเลื่อนซุนดา อยู่บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินโดนีเซีย และรอยเลื่อนฟิลิปปินส์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ ฉะนั้นแล้ว ณ วันนี้ เราก็ควรทำความรู้จักกับเรื่องแผ่นดินไหวให้มากขึ้น รวมทั้งวิธีเตรียมการรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
สำหรับ "แผ่นดินไหว" ถือเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากปล่อยปลดปล่อยพลังงานที่สะสมไว้ในโลก เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ซึ่งปกติจะเกิดการเคลื่อนที่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ทำให้ชั้นหินขนาดใหญ่ใต้พื้นผิวโลกเคลื่อนที่ตามไปด้วย และเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ จนเกิดการสั่นสะเทือนเกิดขึ้น โดยจุดที่แผ่นดินเกิดการเคลื่อนที่นั้นเรียกว่า "จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว"


          ทั้งนี้ ทั่วโลกมีเขตรอยต่อแผ่นเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวตามมามากมาย แต่จุดที่เป็นรอยต่อขนาดใหญ่ และเป็นจุดเกิดแผ่นดินไหวมากกว่า 80% ของพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลก คือ บริเวณวงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) ที่อยู่รอบมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งประกอบไปด้วยหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ชิลี นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฯลฯ

ที่มักจะเกิดแผ่นดินไหวนอกจากวงแหวนแห่งไฟแล้ว ก็ยังมีแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางทวีปยุโรปตอนใต้ แถบเทือกเขาอนาโตเลีย ที่ประเทศตุรกี ผ่านบริเวณตะวันออกกลาง จนถึงเทือกเขาหิมาลัย เช่น ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศจีน และประพม่


อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งจะมีพลังทำลายล้างได้มากแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่รู้สึกได้มากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยหากอยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ก็จะมีความเสียหายมากกว่าจุดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างออกไป

สำหรับการวัดขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude) ใช้ระบบการวัดได้หลายรูปแบบ แต่ที่เป็นที่นิยมที่สุด คือ มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหวแบบริกเตอร์ โดยขนาดของแผ่นดินไหวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้


ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว

1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน

2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น

4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า

5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้

6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน

7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมตัวกันอีกครั้งในภายหลัง

8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

9. ตรวจสอบบ้านเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในบ้านให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง ยึดติดอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ กับพื้นหรือผนังบ้านอย่างแน่นหนา



ระหว่างการเกิดแผ่นดินไหว
1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ เพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน

2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืน หรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง

3. กรณีอยู่ในอาคาร ให้หาที่หลบกำบังในบริเวณที่ปลอดภัย พร้อมใช้มือกำบังศีรษะและลำคอ โดยหมอบบริเวณใต้โต๊ะ เก้าอี้ที่แข็งแรง ไม่มีสิ่งของหล่นใส่ หรือในจุดที่มีโครงสร้างแข็งแรง ไม่อยู่ใต้คานหรือใกล้เสา อยู่ให้ห่างจากประตู หน้าต่างที่เป็นกระจกและเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถล้มลงมาได้ ห้ามวิ่งหนีออกจากอาคารโดยใช้ลิฟต์ เพราะหากกระแสไฟฟ้าดับ จะติดค้างอยู่ในลิฟต์ ทำให้ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้ และไม่ควรใช้บันไดหนีไฟ เพราะอาจได้รับอันตรายจากสิ่งของที่ร่วงหล่นจากแรงสั่นสะเทือน หรือบันไดหนีไฟอาจร่วงหล่นมาจากตึกได้

4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง

5. อย่าใช้เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น

6. หากกำลังขับรถ ให้หยุดรถในบริเวณที่ปลอดภัยและรอจนกว่าเหตุแผ่นดินไหวสงบค่อยขับรถต่อ ห้ามหยุดรถบริเวณใต้สะพาน ทางด่วน ป้ายโฆษณาและต้นไม้ขนาดใหญ่ เพราะเสี่ยงต่อการถูกล้มทับ

7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว

8. กรณีอยู่บริเวณชายทะเล หากสังเกตเห็นน้ำทะเลลดระดับอย่างรวดเร็ว ให้รีบหนีขึ้นที่สูงหรือออกห่างจากชายฝั่งทะเลให้มากที่สุด เพราะอาจเกิดคลื่นสึนามิ ถ้าอยู่ในเรือ ให้นำเรือออกสู่กลางทะเล และรอจนกว่าสถานการณ์สงบ จึงค่อยนำเรือกลับเข้าฝั่ง
หลังการเกิดแผ่นดินไหว
1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน

2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้

3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง

4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว

5. ตรวจสอบว่าแก๊สรั่วด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน

6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง

7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ

8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้

9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง

10. อย่าแพร่ข่าวลือ หรือหลงเชื่อข่าวลือ
นายภูวเทพ  รัศมี  ม.5/8  เลขที่47
วิชาโลกศึกษา+

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น