ตำแหน่งร่องความกดอากาศต่ำ และทิศทางลมมรสุม
ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ ที่สำคัญและเสียหายได้เป็นอย่างมาก คือ วาตภัย อุทกภัย อัคคีภัยและแผ่นดินไหว วาตภัยและอุทกภัยมีสาเหตุหลักจากพายุหมุนเขตร้อนและพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรง ในขณะที่อัคคีภัยและแผ่นดินไหว มนุษย์มีส่วนทำให้เกิด
ภูมิอากาศของประเทศไทยมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นตัวกำหนดหลักของลัษณะอากาศของประเทศไทย ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะพัดระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห้งแล้ง ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม นำอากาศร้อนและชื้นจากมหาสมุทรเข้ามา ทำให้มีฝนตกทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งและเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนตกชุก ถือเป็นช่วงฤดูฝน ช่วงระหว่างเปลี่ยนฤดูระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม มีลมไม่แน่ทิศและเป็นช่วงที่พื้นดินได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์สูงสุด อากาศทั่วไปจะร้อนอบอ้าวและแห้งแล้ง พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นมักปรากฎมีความรุนแรงเป็นช่วงฤดูร้อน ภัยธรรมชาติที่พบในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ชนิด ดังนี้
-พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclones)
-แผ่นดินไหว (Earthquakes)
-อุทกภัย (Floods)
-พายุฟ้าคะนองหรือพายุฤดูร้อน (Thunderstorm)
-แผ่นดินถล่ม (Landslide)
-คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surges)
-ไฟป่า (fires)
-ฝนแล้ง (Droughts)
จากการเก็บข้อมูลทางสถิติของกรมอุตุนิยมวิทยาได้ทำการสรุปภัยธรรมชาติที่เกิดในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย ในช่วงปี 2540 – 2550 มีดังนี้
เดือน/ภาค | เหนือ | ตะวันออก | กลาง | ตะวันออก | ใต้ | |
เฉียงเหนือ | ฝั่งตะวันออก | ฝั่งตะวันตก | ||||
มกราคม | อุทกภัย | |||||
ฝนแล้ง | ||||||
กุมภาพันธ์ | ไฟป่า | ไฟป่า | ฝนแล้ง | ฝนแล้ง | ||
ฝนแล้ง | ||||||
มีนาคม | พายุฤดูร้อน | พายุฤดูร้อน | พายุฤดูร้อน | ฝนแล้ง | ฝนแล้ง | ฝนแล้ง |
ไฟป่า | ไฟป่า | ฝนแล้ง | ||||
ฝนแล้ง | ฝนแล้ง | |||||
เมษายน | พายุฤดูร้อน | พายุฤดูร้อน | พายุฤดูร้อน | ฝนแล้ง | ฝนแล้ง | |
ไฟป่า | ไฟป่า | ฝนแล้ง | ||||
ฝนแล้ง | ฝนแล้ง | |||||
พฤษภาคม | อุทกภัย | อุทกภัย | อุทกภัย | ฝนแล้ง | พายุหมุนเขต | อุทกภัย |
พายุฤดูร้อน | พายุฤดูร้อน | พายุฤดูร้อน | ร้อน | |||
อุทกภัย | ||||||
มิถุนายน | อุทกภัย | อุทกภัย | อุทกภัย | อุทกภัย | อุทกภัย | อุทกภัย |
ฝนทิ้งช่วง | ฝนทิ้งช่วง | ฝนทิ้งช่วง | ฝนทิ้งช่วง | |||
กรกฎาคม | พายุหมุนเขตร้อน | พายุหมุนเขตร้อน | พายุหมุนเขตร้อน | อุทกภัย | อุทกภัย | อุทกภัย |
อุทกภัย | อุทกภัย | พายุฝนฟ้าคะนอง | ฝนทิ้งช่วง | |||
พายุฝนฟ้าคะนอง | พายุฝนฟ้าคะนอง | ฝนทิ้งช่วง | ||||
ฝนทิ้งช่วง | ฝนทิ้งช่วง | |||||
สิงหาคม | พายุหมุนเขตร้อน | พายุหมุนเขตร้อน | พายุหมุนเขตร้อน | พายุหมุนเขตร้อน | อุทกภัย | อุทกภัย |
อุทกภัย | อุทกภัย | อุทกภัย | อุทกภัย | |||
พายุฝนฟ้าคะนอง | พายุฝนฟ้าคะนอง | พายุฝนฟ้าคะนอง | พายุฝนฟ้าคะนอง | |||
กันยายน | พายุหมุนเขตร้อน | พายุหมุนเขตร้อน | พายุหมุนเขตร้อน | พายุหมุนเขตร้อน | ||
อุทกภัย | อุทกภัย | อุทกภัย | อุทกภัย | |||
พายุฝนฟ้าคะนอง | พายุฝนฟ้าคะนอง | พายุฝนฟ้าคะนอง | พายุฝนฟ้าคะนอง | |||
ตุลาคม | พายุหมุนเขตร้อน | พายุหมุนเขตร้อน | อุทกภัย | พายุหมุนเขตร้อน | ||
อุทกภัย | อุทกภัย | อุทกภัย | ||||
พายุฝนฟ้าคะนอง | พายุฝนฟ้าคะนอง | คลื่นพายุซัดฝั่ง | ||||
แผ่นดินถล่ม | ||||||
พฤศจิกายน | อุทกภัย | พายุหมุนเขตร้อน | ||||
อุทกภัย | ||||||
คลื่นพายุซัดฝั่ง | ||||||
แผ่นดินถล่ม | ||||||
ธันวาคม | อุทกภัย |
พบว่าในช่วงต้นปีตั้งแต่มกราคมถึงเดือนเมษายน ภัยธรรมชาติที่เกิดบ่อยเป็นไฟป่า ฝนแล้ง พายุฤดูร้อน พอเข้าสู่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายนเกือบทุกภาคจะประสบปัญหาพายุหมุนเขตร้อน อุทกภัย พายุฝนฟ้าคะนอง ฝนทิ้งช่วง และช่วงสุดท้ายเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมพื้นที่ภาพกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคตะวันออกจะเริ่มเข้าฤดูหนาว ในขณะที่ภาคใต้จะอยู่ในช่วงฤดูฝนจะประสบปัญหาอุทกภัย พายุหมุนเขตร้อน คลื่นพายุซัดฝั่งและแผ่นดินถล่ม
ภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหาย
เมื่อดูสถิติข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้สรุปออกมาเกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่พบในภูมิภาคต่างๆเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เจอกันอยู่ตอนนี้มีความคลาดเลื่อนเล็กน้อย เนื่องมาจากการเปลี่ยนของทรัพยากรของโลก ลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศ ประกอบกับภาวะฉับพลัน เช่น การเกิดแผ่นดินไหว ตัวอย่างประเทศเฮติในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2553 มีความรุนแรง 7.0 ริคเตอร์ และเกิดอาฟเตอร์ช๊อคตามมาเรื่อยๆ มีผู้เสียชีวิตระหว่าง 217,000 – 230,000 คน สร้างความเสียหายให้ประเทศเฮติเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่น้อยและมีความระดับความสั่นสะเทือนที่ไม่สูง แต่ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศที่อยู่บริเวณขอบแผ่นทวีป เช่น ประเทศอินโดนีเซียเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรวมไปถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับแผ่นดินไหวนั้นก็คือ สึนามิ (Tsunami) และภูเขาไฟระเบิด โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เกิดภูเขาไฟเมราปีปะทุขึ้นที่บริเวณจังหวัดชวากลาง หลังจากนั้น 1 วัน เกิดแผ่นดินไหว วัดระดับความสั่นสะเทือนได้ 7.2 ริคเตอร์ที่หมู่เกาะแมนตาไว จังหวัดสุมาตราตะวันตก หลังจากเกิดแผ่นดินไหวก็มีสึนามิตามมาทำให้ผู้คนเสียชีวิต 108 คน สูญหายกว่า 500 คน
ภัยธรรมชาติที่ประเทศไทยประสบทุกปีคือพายุหมุนเขตร้อนและอุทกภัย โดยพายุหมุนเขตร้อนที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยจะมีจุดกำเนิด 2 จุดด้วยกันคือ พายุหมุนที่ก่อตัวบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้จะก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชั่น เข้าประเทศไทยบริเวณอ่าวไทยและอีกจุดหนึ่งก่อตัวบริเวณมหาสมุทรอินเดียเป็นพายุไซโคลนถึงแม้ว่าจะไม่เข้าประเทศไทยโดยตรงแต่ก็ส่งผลกระทบเช่นกัน จากการที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยในช่วงนี้ (เดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2553) เกิดจากพายุดีเปรสชั่น ทำให้เกิดฝนตกติดต่อกันหลายวัน เขื่อนต่างๆไม่สามารถแบกรับน้ำจำนวนมากไว้ได้จึงทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง ภาคอีสานและล่าสุดคือภาคใต้ โดยเฉพาะหาดใหญ่ พัทลุง ตรัง สตูล ที่โดนพายุพัดและน้ำท่วมเต็มๆ
เมื่อเรามาดูว่าทำไมพื้นที่ประเทศไทยมีน้ำท่วมแบบน้ำได้ทุกปี ต้นเหตุก็ไม่น่าจะไปไหนไม่ได้นอกจากสภาพพื้นที่ของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไป มีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่การเกษตร พื้นที่ที่อยู่อาศัย ประกอบกับพื้นที่ป่าธรรมชาติที่เคยเป็นที่ดูดซับน้ำ ชะลอความเร็วและยืดระยะเวลาการไหลของน้ำที่จะเข้าสู่พื้นที่ชุมชนลดลงเป็นจำนวนมาก และอีกสาเหตุหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องแต่เมื่อฟังชื่อแล้วจะรู้สึกว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิดน้ำท่วมนั้นก็คือ การชลประทาน ถึงแม้ว่าการชลประทาน การสร้างเขื่อนจะมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านต่างๆทั้งการบริโภคและอุปโภค แต่การที่จะได้มาซึ่งเขื่อนหนึ่งเขื่อนได้มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไปเท่าไรเพื่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ จำเป็นต้องมีการสำรวจพื้นที่และศึกษาผลกระทบต่อชุมชนพืช สัตว์และสภาพพื้นที่โดยรอบอย่างถี่ถ้วน
ภัยธรรมชาติเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมและทราบได้ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เราสามารถคาดคะเนจากข้อมูลและหลักฐานเมื่อนำมาคำนวณหาเพื่อที่จะได้ประกาศเตือนให้ประชาชนทั่วไปเตรียมตัวและรับมือกับภัยธรรมชาติดังกล่าว แต่นั้นมันก็เป็นแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ส่วนการแก้ปัญหาที่แท้จริงควรร่วมมือกันหลายๆฝ่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย พึ่งพาธรรมชาติแบบคนไทยสมัยก่อนก็ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีและน่าจะเหมาะสมกับสังคมไทย
น.ส.ศศิธร บัวสอน เลขที่ 27 ม.5/8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น